วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สร้างเว็บไซต์ด้วย Drupal


วันนี้ดรูปัล (Drupal) ได้ถูกเสนอชื่อผ่านเข้ารอบสุดท้าย สำหรับระบบซอฟต์แวร์สร้างเว็บยอดเยี่ยมประจำปี 2008 โดยซอฟต์แวร์ห้าตัวที่เข้ารอบสุดท้ายก็ได้แก่ ดรูปัล (Drupal) จุมลา (Joomla) ดอตเน็ตนุก (DotNetNuke) โพลน (Plone) และ ไทโปไลต์ (TYPOlight) ซึ่งเมื่อปี 2007 ที่ผ่านมาดรูปัลก็คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้ว  หลังจากได้ลองใช้นำมาสร้างเว็บไซต์ หัดเล่น หัดเขียน หัดแต่งธีม

ดรูปัล คืออะไร
ดรูปัลเป็นซอฟต์แวร์สำหรับใช้เป็นฐานในการสร้างเว็บไซต์
สร้างเว็บไซต์ แล้วต่างกับพวกดรีมวีฟเวอร์ อย่างไร
            ต้องถามกลับว่ามันเหมือนกันอย่างไรมากกว่า เพราะสองตัวนี้ไม่เหมือนกันเลย ดรีมวีฟเวอร์จะเป็นซอฟต์แวร์จัดการที่หน้าหน้าของเว็บส่วนใหญ่ในลักษณะของ HTML แต่ดรูปัลจะจัดการระบบของเว็บไซต์ที่เซิร์ฟเวอร์ในลักษณะของซีเอ็มเอส (CMS) ที่จัดการเป็นโครงสร้างเตรียมพร้อมสำหรับทำหน้าเว็บไซต์
ราคาค่าใช้จ่าย (ถามทำไมเนี่ย คนไทยก็ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่แล้ว)
            ฟรี ครับ ของแท้ฟรี ของก๊อปก็ฟรี ดาวน์โหลดได้ฟรีที่ http://drupal.org/project
ใครบ้างที่จะนำไปใช้
            คนที่ต้องการสร้างเว็บ ที่มีเนื้อหามาก และมีการเพิ่มเติมตลอดเวลา  เนื้อหาสามารถใส่ความเห็น คอมเมนต์ลงไปได้ คนที่เพิ่มเติมเนื้อหาไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิค เพียงแค่เขียนข้อความ ใส่รูป ใส่วิดีโอ ใส่เพลงลงไปเท่านั้น ช่วยให้การจัดการเนื้อหาเน้นไปที่ตัวเนื้อหามากกว่าคำสั่ง
ตัวอย่างเว็บที่นำไปใช้
เว็บข่าว หรือพวกแม็กกาซีนออนไลน์ สะดวก ง่ายดาย และรวดเร็ว
เว็บหน่วยงานหรือบริษัท เพราะเว็บหน่วยงานมักจะมีเนื้อหาเยอะมาก และคนป้อนข้อมูลมักจะมาจากหลายฝ่าย ซึ่งดรูปัลสามารถตั้งชื่อให้แต่ละคนล็อกอินเข้ามาแก้ไขได้ - ถ้าไม่ชอบก็ใช้ Joomla หรือเว็บอื่นๆ ที่บอกไว้ด้านต้น
เว็บแกลอรีภาพ คล้ายกับ Multiply หรือ Flickr ได้
เว็บบอร์ด บางคนก็เอามาทำเป็นเว็บบอร์ดสำเร็จรูป - ถ้าไม่ชอบก็ใช้ SMF หรือ phpBB ได้
บล็อกสำเร็จรูป เช่น ใครอยากทำบล็อกแบบ exteen แล้วเปิดให้คนอื่นมาเขียน ก็ลงดรูปัลเสร็จ ก็เสร็จเลย แต่ก็ต้องปรับแต่งหน้าตาให้สวยงามกว่า Exteen ด้วย - ถ้าไม่ชอบก็ใช้ WordPress ได้
ทำบล็อกส่วนตัว (คนไทยนิยมกันจริงทำบล็อกด้วยดรูปัล) แต่ถ้าใช้ WordPress จะง่ายกว่า เร็วกว่า และมีธีมเยอะกว่า
เว็บไทยที่นำไปใช้ (แล้วเวิร์ก)
จริงๆ แล้วมีหลายเว็บ เว็บเล็กเว็บน้อย แต่ส่วนใหญ่เปิดมาได้ไม่นานไม่กี่เดือนก็ปิดตัวลง เว็บดังๆ ที่เอาดรูปัลไปใช้แล้วเวิร์กก็คงมี
fukduk.tv เว็บทีวีออนไลน์ 
stylelurf.com เว็บสตรีตแฟชั่นเมืองไทย
Blognone บล็อกรวมเรื่องไอที
คณะสถาปัตยฯ จุฬาฯ ใช้ดรูปัลสำหรับข่าวประกาศ
... ดูรายชื่อ(เกือบ)ทั้งหมดได้ที่ http://bit.ly/thaidrupal
ติดตั้งอย่างไร เสียเวลาแค่ไหน
วิธีติดตั้งค่อนข้างง่าย เพียงแค่ก๊อปไฟล์ไปลงในเซิร์ฟเวอร์ แล้วก็กดเลือกค่าที่ต้องการก็เสร็จแล้ว แต่ต้องติดตั้งมอจูล (module) เสริม สำหรับฟังก์ชันที่ต้องการเพิ่ม ลองดูเพิ่มได้ที่ สร้างเว็บไซต์ด้วย Drupal ภายใน 12 ชั่วโมง
สิ่งควรคิด ก่อนนำดรูปัลไปใช้
ข้อดีมีเยอะ แล้วข้อเสียละอย่าลืมมองข้าม จากที่เห็นได้ว่าหลายเว็บไซต์ลองแล้วไม่เวิร์ก มันก็มีข้อเสียของตัวเองคือ ข้อมูลจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งปกติแล้วเราก็ไม่ค่อยแตะกันเท่าไร แต่เมื่อต้องการไปแบ็กอัป หรือว่าไปเซฟส่งให้คนอื่น ก็วุ่นวายพอควร และนอกจากนี้ข้อเสียหลักอีกตัวคือ เพราะเป็นโอเพนซอร์ซ ซอฟต์แวร์แนวอาสาสมัคร ซึ่งถ้ามีปัญหาเกิดขึ้น บางครั้งรอข้ามเดือน ข้ามปี ก็ไม่มีการแก้ไข ถ้าปัญหาของเราไม่ตรงกับปัญหาคนที่แก้ไขเป็น ซึงเป็นข้อเสียหลักของโอเพนซอร์ซอยู่แล้ว
ถ้ามีคำถามการใช้งานจะถามที่ไหน
เว็บดรูปัลเลย (ถามภาษาอังกฤษ) - http://drupal.org/
เว็บไทยก็มีหลายแห่ง แต่ถามได้คำตอบบ้าง ไม่ได้บ้าง โดนดุบ้าง ก็เช่น
ข้อมูลทางเทคนิค ถ้าจะนำไปใช้
ดรูปัล ติดตั้งในเซิร์ฟเวอร์ เท่านั้น - ซึ่งเอามาลงเครื่องวินโดวส์ ที่เราๆ ใช้กันมันก็ไม่ทำงาน เซิร์ฟเวอร์ต้องรองรับ PHP รุ่น 4 ขึ้นไป (4.3.5+)
ดรูปัล 6 (รุ่นปัจจุบัน) รองรับ PHP 4 และ 5
ดรูปัล 7 จะรองรับรุ่น PHP 5 เท่านั้น เซิร์ฟเวอร์ต้องมีฐานข้อมูล MySQL 4.1+ หรือ PostgreSQL 7.4+
ตัวอย่าง   drupal theme

แนะนำ Drupal
Drupal เป็นซอฟต์แวร์บริหารจัดการเนื้อหาเว็บ (content management system - CMS) ที่ชนะรางวัล Open Source CMS ของสำนักพิมพ์ Packt Publishing ในสาขา Overall Open Source CMS Award สองปีติดต่อกัน ทั้งปี 2007 และ 2008 นอกจากนี้ในปี 2008 นั้น Drupal ยังชนะรางวัลสาขา Best PHP Based Open Source CMS เพิ่มอีกหนึ่งรางวัลด้วย


             รางวัล Open Source CMS Award ของสำนักพิมพ์ Packt Publishing จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2006 วิธีตัดสินใช้คะแนนโหวตจากผู้ชมเว็บไซต์ และการให้คะแนนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในวงการ ปัจจุบันมีการมอบรางวัลปีละ 5 สาขา รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ Open Source CMS Award Previous Winners 
ในปี 2009 ทางสำนักพิมพ์ Packt Publishing ได้ยกให้ Drupal ซึ่งชนะรางวัล Open Source CMS ติดต่อกันมาสองปี ให้รับตำแหน่ง Hall of Fame เป็นรายแรก นอกจากนี้ Drupal ยังตบรางวัล Best Open Source PHP CMS ประจำปี 2009 กลับบ้านไปอีกหนึ่งรางวัลด้วย (รายละเอียดดูใน Open Source CMS Award 2009)

ความสามารถของ Drupal หลักๆ มีดังนี้
ติดตั้งง่าย
Drupal มาพร้อมกับตัวติดตั้ง (Installer) ที่ใช้งานได้ง่ายโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก เพียงแค่สร้างฐานข้อมูลและย้ายไฟล์ Drupal ไปบนเซิร์ฟเวอร์ งานที่เหลือนั้นตัวติดตั้งของ Drupal จะช่วยจัดการให้ทั้งหมด
URL อ่านง่าย
ในยุคที่ search engine ทวีความสำคัญมากอย่างในปัจจุบัน เจ้าของเว็บไซต์ต่างต้องทำ Search Engine Optimization เพื่อเพิ่มอันดับเว็บของตัวเอง Drupal มาพร้อมกับความสามารถในการสร้าง URL ที่เหมาะสมกับ search engine ในตัว สร้างเว็บด้วย Drupal แล้วคุณอาจตกใจว่าเว็บของคุณมีอันดับดีอย่างที่ไม่เคยคิดมาก่อน
พร้อมสำหรับบล็อกและเว็บบอร์ด
Drupal เป็น CMS ที่ออกแบบมาเพื่อเว็บชุมชนขนาดใหญ่เป็นเป้าหมายหลัก Drupal จึงมีรวมส่วนของเว็บบล็อกและเว็บบอร์ดมาให้ในตัวโดยไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่ม เติม แค่ลง Drupal สมาชิกในเว็บไซต์ของคุณสามารถเขียนบล็อกส่วนตัว และสนทนาผ่านเว็บบอร์ดได้ทันที
RSS Feed ในตัว
ปัจจุบัน RSS หรือ Feed ได้รับความนิยมมาก ผู้อ่านสามารถสมัครสมาชิก RSS เพื่อติดตามข่าวสารอย่างสะดวกและอัตโนมัติ ความสามารถด้าน RSS ถูกรวมเข้ามาใน Drupal ไม่ว่าคุณจะสร้างเนื้อหาแบบใดในเว็บไซต์ก็ตาม Drupal จะสร้าง RSS Feed ให้คุณโดยอัตโนมัติ เป็นการอำนวยความสะดวกใหักับผู้เยี่ยมชมเว็บของคุณ
ปลอดภัย
Drupal มีชื่อเสียงด้านความปลอดภัยมายาวนาน เว็บไซต์ที่สร้างด้วย Drupal ถูกโจมตีได้ยากมาก และทางผู้พัฒนา Drupal ได้ออกรุ่นอัพเดตด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องและทันท่วงทีอยู่เสมอ
นอกจากความสามารถมาตรฐานที่ว่ามาแล้ว Drupal ยังมีโมดูลเพิ่มเติมความสามารถอีกเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างโมดูลที่น่าสนใจมีดังนี้
  • Digg this - อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ส่งเรื่องบนเว็บของคุณไปยัง Digg และ social bookmark อื่นๆ
  • AdSense - หารายได้เข้าเว็บ ผ่านโฆษณาของ Google AdSense ซึ่งติดตั้งผ่านหน้าเว็บได้สะดวก
  • Google Maps - เชื่อมข้อมูลเว็บไซต์เข้ากับแผนที่ Google Maps
  • Ubercart - ระบบอีคอมเมิร์ซครบวงจร
  • XML Sitemap - ส่งข้อมูลเว็บไซต์ไปยัง search engine อย่างอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มอันดับในผลค้นหา
ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ใช้ Drupal
Drupal เป็น CMS ที่เว็บไซต์ของนายกรัฐมนตรีไทยเลือกใช้
PM.go.th
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีไทย


--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
http://drupal.in.th/

 
 



 

 









วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

XOOPS คืออะไร?

XOOPS  คืออะไร?
XOOPS ย่อมาจาก eXtensible Object Oriented Portal System จัดอยู่ในโปรแกรมประเภทระบบบริหารจัดการเนื้อหา (CMS : Content Management System) ใช้สำหรับบริหารและจัดการข้อมูลเว็บไซต์แบบสำเร็จรูป
             XOOPS พัฒนามาจากภาษา PHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySql โดยใช้เทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (OO : Object Oriented) ส่งผลให้ซอฟต์แวร์มีขนาดเล็กประมวลผลเร็ว และสามารถเพิ่มฟังก์ชั่น การใช้งานผ่านโมดูล (Modules) ต่างๆ ได้อีกมากมายในอนาคต
            ปัจจุบัน XOOPS ได้รับความนิยมใช้งานจำนวนมาก เนื่องจาก XOOPS
มีความสามารถหลาย ๆ ด้านในการจัดการเว็บไซต์ ที่สำคัญ XOOPS เป็นโปรแกรมเปิดเผยรหัส (Open Source) คือซอฟแวร์ที่สามารถนำไปใช้งาน แก้ไข และทำสำเนาเผยแพร่ต่อได้อย่างเสรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายด้านลิขสิทธิ์แต่อย่างใด

XOOPS เป็นโปรแกรมที่ช่วยทำให้ชีวิตของเว็บมาสเตอร์หรือผู้ดูแลเว็บง่ายขึ้นในการสร้างเว็บไซต์แนวใหม่(dynamic websites) มีคุณสมบัติต่างๆมากมายที่จะช่วยให้งานยาก กลายเป็นงานง่าย ด้วยเครื่องมืออันทรงประสิทธิภาพที่จะช่วยพัฒนาเว็บไซต์ตั้งแต่เว็บไซต์ส่วนตัวขนาดเล็กๆ ไปจนถึงเว็บไซต์ขององค์กรในขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเว็บอินทราเน็ตของบริษัท เว็บของหน่วยงาน เว็บส่วนตัว และอื่นๆอีกมากมาย โดยสามารถติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์ในทุกระบบที่สามารถใช้งานภาษา PHP มีโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ (เช่น Apache) และมีระบบฐานข้อมูลรองรับ (เช่น MySQL)
XOOPS อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์การใช้งานในลักษณะ GNU General Public License (GPL) สามารถใช้งานได้ฟรี และแก้ไขดัดแปลงได้ โดยคุณสามารถนำไปใช้หรือจ่ายแจกได้ตราบใดที่ยังอยู่ในเงื่อนไข GPL
XOOPS สามารถใช้ทำเว็บส่วนตัว(weblog) หรือ บันทึกส่วนตัว(journal) ในลักษณะนี้คุณสามารถติดตั้ง(XOOPS)แบบปกติ และลงโมดูลข่าวสาร(News) อย่างเดียวก็พอ สำหรับเว็บขนาดกลางมีความจำเป็นต้องใช้งานเพิ่มขึ้น อาจจะต้องลงโมดูลข่าวสาร(News) โมดูลกระดานข่าว(Forum) โมดูลดาวน์โหลด(Download) โมดูลสารบัญเว็บ(Web Links) เป็นต้น เพื่อมีไว้บริการแก่ชุมชนสำหรับสมาชิกและผู้เข้าชมเว็บของคุณ สำหรับเว็บขนาดใหญ่ คุณอาจต้องพัฒนาโมดูลเพื่อให้เหมาะกับลักษณะที่ใช้งานโดยตรง เช่น eShop และใช้ระบบของ XOOP เข้าผนวกเพื่อบริหารจัดการระบบโดยรวมทั้งหมดของเว็บไซต์
คุณสมบัติของ XOOPS
- ขับเคลื่อนด้วยฐานข้อมูล(Database-driven)
XOOPS ใช้ระบบฐานข้อมูล (แนะนำ MySQL) ในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการทำงานของระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์

- จัดการโมดูลแบบเต็มรูปแบบ(Fully Modularized)
โมดูล(Modules)ต่างๆสามารถ ติดตั้ง/ถอดถอน/กำหนดให้ทำงาน/กำหนดให้ไม่ทำงาน ก็ได้ โดยผ่านระบบจัดการโมดูลของ XOOPS

- เน้นความเป็นส่วนตัว(Personalization)
สมาชิกสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัว เลือกธีม อัปโหลดรูปสัญญลักษณ์(avatars) และอื่นๆอีกมากมาย!

- มีระบบจัดการสมาชิก(User Management)
สามารถค้นหาสมาชิกที่ต้องการได้จากหลากหลายเงื่อนไข ส่งอีเมล์ และข่าวสารส่วนตัวไปยังสมาชิกท่านอื่นผ่านระบบของเว็บได้

- ได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลก(Supported World-wide)
XOOPS ถูกสร้างและพัฒนาโดยทีมงานจากทั่วโลก ชุมชน XOOPS มีเว็บสนับสนุนการทำงานมากมายทั่วโลก(สำหรับที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ)

- รองรับการทำงานของภาษาพิเศษ(Multi-byte Language Support)
มีระบบรองรับการทำงานของภาษาแบบ multi-byte เช่น Japanese, Simplified และ Traditional Chinese, Korean,...

- ระบบสิทธิการใช้งานแบบกลุ่ม(Versatile Group Permissions System)
มีระบบกำหนดสิทธิการใช้งานที่ทรงอนุภาพและง่ายต่อการใช้งาน โดยสามารถแบ่งการบริหารจัดการเป็นกลุ่มๆ

- เปลี่ยนหน้าตาได้เว็บตามใจชอบ(Theme-based skinnable interface)
XOOPS ถูกออกแบบมาให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ ทั้งเว็บมาสเตอร์และสมาชิกสามารถเปลี่ยนหน้าตาของเว็บทั้งหมดได้เพียงคลิกเดียว และมีธีม(themes) ให้เลือกดาวน์โหลดมาใช้งานได้อย่างมากมายเหลือคณานับ!!
ความสามารถของ XOOPS
- ใช้ฐานข้อมูลในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการทำงานของระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ 
 - มีโมดูลการใช้งานที่หลากหลายทั้ง โมดูลข่าวสาร, กิจกรรม, โพลสำรวจ, เว็บบอร์ด, บทความ เป็นต้น ซึ่งสามารถติดตั้ง/ถอนการติดตั้ง หรือกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ โดยผ่านระบบการจัดการโมดูลของ XOOPS 
- มีระบบจัดการสมาชิกที่ดี และสามารถแจ้งข่าวสารต่าง ๆ ให้สมาชิกรับทราบได้โดยผ่านระบบจัดการสมาชิกของ XOOPS
- สามารถเลือกใช้ Themes สำหรับปรับเปลี่ยนรูปแบบของเว็บไซต์ได้โดยง่าย ๆ และรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ออกแบบ Themes ไว้มากมายทั้งให้ดาวน์โหลดฟรี และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์
 - XOOPS สามารถใช้ทำเว็บส่วนตัว(weblog) หรือ บันทึกส่วนตัว(journal) ได้โดยง่าย (ใช้ความสามารถของโมดูลข่าวสาร)
- มีระบบกำหนดสิทธิการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการใช้งาน
- XOOPS ได้ถูกสร้างและพัฒนาโดยทีมงานจากทั่วโลก ดังนั้น XOOPS จึงมี เว็บไซต์สนับสนุนการทำงานมากมายทั่วโลก ซึ่งมีเว็บไซต์หลักคือ www.xoops.org สำหรับเว็บไซต์ที่เป็นภาษาไทยก็มีมากมายเช่นกันเช่น http://www.thaixoops.org/  http://www.siamxoops.net/ http://www.cmsthailand.com/      เป็นต้น
ความต้องการด้านซอฟต์แวร์
• Web Server เป็น Apache หรือ IIS
โปรแกรมภาษา PHP เวอร์ชั่น 4.2.0 ขึ้นไป

ฐานข้อมูล MySQL เวอร์ชั่น 3.23.x ขึ้นไป
โปรแกรม phpMyAdmin สำหรับจัดการฐานข้อมูล MySQL

หากสนใจสามารถทดลองใช้ และดาวน์โหลดกันที่นี่ได้เลยค่ะ 

XOOPS เวอร์ชันล่าสุด(2.0.15) ฉบับภาษาไทย


XOOPS เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ(Object Oriented) ด้วยภาษา PHP สำหรับใช้ในการจัดทำเว็บไซต์(portal) แบบเปิดเผยรหัส(open source) XOOPS สนับสนุนการทำงานของฐานข้อมูลหลากหลายชนิด คุณสามารถนำ XOOPS ไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเว็บไซต์ตั้งแต่เว็บที่มีขนาดเล็กไปจนถึง เว็บขนาดใหญ่ เว็บสำหรับใช้ในอินทราเน็ตภายในองค์กร เว็บของบริษัทธุรกิจเอกชน เว็บสำหรับใช้ส่วนตัว หรือเว็บในรูปแบบอื่นๆอีกมากมาย ดาวน์โหลด>> XOOPS เวอร์ชันล่าสุด(2.0.15) ฉบับภาษาไทย
ที่มา http://www.thaixoops.org/ 
ขั้นตอนการติดตั้ง XOOPS

ก่อนทำการติดตั้งจะต้องอ่านทำความเข้าใจและทำตามในหัวข้อ การติดตั้ง Webserver และ การจัดเตรียมก่อนติดตั้ง ก่อนนะครับ (เดี๋ยวจะงงว่ามาขั้นตอนนี้ได้ไง)
ให้ทำการเปิด Browser ขึ้นมา แล้วพิมพ์ http://127.0.0.1/Xoops/install/index.php จากนั้นจะปรากฏหน้าต่างยินดีต้อนรับสู่การติดตั้ง XOOPS
1.คลิ๊กเลือกภาษาที่ใช้ ในที่นี้ให้เลือก thai
2.คลิ๊กปุ่ม ต่อไป


จากนั้นโปรแกรมจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ XOOPS และโปรแกรมที่จำเป็นที่จะต้องมี รวมถึงการจัดเตรียมก่อนการติดตั้ง
1. คลิ๊กปุ่ม ต่อไป
จากนั้นโปรแกรมจะทำการตรวจสอบสิทธิการใช้งานไฟล์และไดเรคทอรี
คลิ๊กปุ่ม ต่อไป
จากนั้นโปรแกรมจะให้เราทำการติดตั้งค่าทั่วไป
5. เลือกโปรแกรมฐานข้อมูลที่จะใช้งาน ปกติกำหนดให้เป็น mysql ส่วนชื่อโฮสของฐานข้อมูลให้เรากรอก localhost (ในกรณีที่เราจำลองเครื่องของเราเป็น Server) หรือกรอกชื่อDomain Name ของเว็บไซต์ของเราในกรณีที่เราเช่า Host จากผู้ให้บริการ ในที่นี้เลือกเป็น localhost เนื่องจากเราทำการจำลองเครื่องของเราเป็น Server
6. ให้เรากรอกชื่อผู้ใช้งานฐานข้อมูล ให้เรากรอก root
7. ให้เราทำการกรอกชื่อฐานข้อมูล กรณียังไม่มีฐานข้อมูลให้เราตั้งชื่อขึ้นมาใหม่
·         สำหรับช่องคำนำหน้าตาราง ให้เราตั้งชื่อขึ้นมา หรือเลือกตามค่าที่โปรแกรมตั้งไว้ให้ก็ได้
·         สำหรับที่อยู่ของ XOOPS บน เซิร์ฟเวอร์ และที่อยู่ URL ของ XOOPS โปรแกรมจะทำการค้นหาและกรอกให้เราอัตโนมัติอยู่แล้ว
8.คลิ๊กปุ่ม ต่อไป
จากนั้นให้เราทำการตรวจสอบข้อมูลหากไม่ถูกต้องให้คลิ๊กปุ่ม กลับไป เพื่อทำการแก้ไข หากตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องให้เราคลิ๊กปุ่ม ต่อไป
10. โปรแกรมจะทำการบันทึกค่าทั้งหมดลงในไฟล์ชื่อ mainfile.php ให้เราคลิ๊กปุ่ม ต่อไป
11. ให้เราตรวจสอบที่อยู่จริง และ URL ที่ใช้งานจากนั้นให้คลิ๊กปุ่ม ต่อไป
12. ให้เราทำการตรวจสอบค่าติดตั้งฐานข้อมูลหากยืนยันให้เราคลิ๊กปุ่ม ต่อไป
13. โปรแกรมจะทำการค้นหาฐานข้อมูลที่เรากรอกไว้ หากไม่พบ โปรแกรมจะแจ้งให้เราสร้างฐานข้อมูลใหม่ขึ้นมา ให้เราคลิ๊กปุ่ม ต่อไป
14. เมื่อโปรแกรมสร้างฐานข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมจะแจ้งให้เราทราบ ให้เราคลิ๊กปุ่ม ต่อไป
15. โปรแกรมจะทำการติดต่อกับฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นมาใหม่ และแจ้งให้เรากดปุ่ม เพื่อสร้างตารางข้อมูล (สังเกตดูไฟสีเขียวจะติดทั้ง 2 ดวง)
16. จากนั้นโปแกรมจะทำการสร้างตารางข้อมูล และแจ้งให้เราทราบให้เราคลิ๊กปุ่ม (สังเกตดูไฟสีเขียวจะติดทุกดวง)
17. ให้เรากำหนดชื่อผู้ดูแลเว็บ กรณีนี้ กรอก admin
18. จากนั้นให้กรอกอีเมล์ของผู้ดูแลเว็บ (หากเราไม่มีอีเมล์ให้เรากรอกอะไรก็ได้แต่ต้องเป็นรูปแบบของอีเมล์อย่างเช่น aa@bb.com เป็นต้น)
19. กรอกรหัสผ่านสำหรับผู้ดูแลเว็บ พร้อมยืนยันรหัสผ่าน
20. คลิ๊กปุ่ม ต่อไป
21. จากนั้นโปรแกรมจะทำการบันทึกข้อมูลและแจ้งรายละเอียดให้เราทราบ ให้เราคลิ๊กปุ่ม ต่อไป
22. ให้เราคลิ๊กตรงคำว่า ที่นี่ เพื่อเข้าสู่หน้าแรกของเว็บ
หน้าตาของเว็บไซต์เมื่อทำการติดตั้ง XOOPS เรียบร้อยแล้ว


บางส่วนของเว็บไซต์ไทยที่สร้างด้วย XOOPS

www.hosting4thai.com
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการจัดทำเว็บไซต์ และให้บริการเช่า Hosting จดโดเมน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่ต้องการทำเว็บไซต์ด้วย CMS เช่น XOOPS , Joomla, Moodle เป็นต้น


www.junlachai.com
เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวของ อ.จุลชัย จุลเจือ วิทยากรชั้นแนวหน้าของเมืองไทย มีผลงานเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ มากมายทั้งภาครัฐ และเอกชน เนื้อหาอัปเดทตลอดเวลา

เป็นเว็บไซต์ตัวอย่างที่จัดทำให้ลูกค้าของ hosting4thai,com ดูก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ

www.src1993.com
เป็นเว็บไซต์ของบริษัท สหรุ่งเรือง 1993 จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างอาคารสูง อาคารพิเศษต่าง ๆ โรงงานอุตสาหกรรม ก่อสร้างปั๊มน้ำมัน ระท่อโรงงานอุตสาหกรรม
(อยู่ระหว่างจัดทำเว็บไซต์)




ขอขอบคุณแหล่งที่มาดังนี้ค่ะ

http://www.xoopsthai.net/content/whatxoops.php
www.smileinfonet.com/board/index.php?topic=2.0
www.smileinfonet.com/board/index.php?topic=2.0
www.cmsthailand.com/docs/xoops_install.html